Custom Search

Search This Blog

Thursday, August 4, 2011

การเกิดถุงน้ำหรือซีสต์บนปลอกหุ้มเอ็น


Carpal Ganglion and Ganglion Cyst

Carpal Ganglion Cyst เป็นถุงน้ำที่อยู่บนปลอกหุ้มเอ็นซึ่งพาดวางอยู่บนหลังข้อมือ
ผนังของก้อนถุงน้ำเป็นเยื่อบุข้อ หรือ เยื่อหุ้มเส้นเอ็น ภายในก้อนถุงน้ำจะมีน้ำไขข้อบรรจุอยู่ ก้อนถุงน้ำนี้จะมีช่องติดต่อกับข้อมือ
ตำแหน่งที่พบได้บ่อยคือ หลังข้อมือ และ ด้านหน้าของข้อมือ บริเวณใกล้ ๆ กับโคนนิ้วหัวแม่มือ

อายุ

พบบ่อยในผู้หญิง ช่วงอายุ 20 - 40 ปี

สาเหตุ

สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด
ในผู้ป่วยบางราย อาจมีประวัติ การบาดเจ็บจากการกระทบกระแทก หรือ อาจจะเป็นผลจากการทำงานโดยเฉพาะงานที่ต้องมีการกระดกข้อมือขึ้นลงบ่อย ๆ เกิดจากความเสื่อมของปลอกหุ้มเอ็น โดยอาจเกิดตามหลังอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงต่อปลอกหุ้มเอ็นนั้น
ถุงน้ำนี้จะมีน้ำเหนียวข้นอยู่ภายใน ส่วนใหญ่มักมีขนาดเล็กๆ ไม่เกิน 2 ลบ.ซม. และไม่ค่อยทำให้เกิดอาการ

อาการแสดง
ลักษณะของก้อน

เป็นก้อนนูนขึ้นมา ลักษณะค่อนข้างแข็ง ผิวเรียบ และไม่เคลื่อนที่ ส่วนใหญ่กดไม่เจ็บ ในผู้ป่วยบางรายอาจมี มีอาการบวมที่ข้อมือ
ถ้ากระดกข้อ มือขึ้น หรือ งอข้อมือลง จะทำให้ขนาดของก้อนถุงน้ำเปลี่ยนแปลง เช่น ถ้าก้อนทางด้านหลังข้อมือ เมื่อกระดกข้อมือขึ้น ขนาดก้อนจะเล็กลงหรือคลำไม่ได้ แต่ถ้างอข้อมือลง ก็จะโตขึ้น และแข็งมากขึ้น เป็นต้น

ระยะเวลา

อาจเป็นขึ้นทันทีหรือค่อยๆโตขึ้น หรือ ก้อนนั้นยุบเองแล้วโตขึ้นมาใหม่ได้ ถ้าปล่อยไว้ก้อนก็มักจะโตขึ้น แต่จะค่อย ๆ โตอย่างช้า ๆ อาจใช้เวลานานหลายเดือน หรือ เป็นปี จึงจะผิดสังเกต

อาการ

อาจมีอาการเมื่อย ปวดข้อมือรบกวน การเคลื่อนไหวมือข้อมือลำบาก เนื่องจากก้อนถุงน้ำไปกดเบียด เส้นเอ็นหรือเยื่อบุข้อ กรณีที่ก้อนซีสต์ติดกับเส้นเอ็น จะทำให้รู้สึกว่านิ้วที่มีผลกระทบนั้นอ่อนแอลงได้

การรักษา

  1. Splinting of the wrist สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดและไม่ต้องการรักษาด้วยการเจาะดูดหรือผ่าตัด ควรลดการใช้ข้อมือ ให้อยู่นิ่งๆ รับประทานยาแก้ปวดและผ้ายืดพันไว้ หรือใส่เฝือกอ่อน 1 สัปดาห์
  2. Exercises to strengthen wrist and improve range of motion
  3. Aspiration การเจาะดูดน้ำออกไป โดยแพทย์อาจฉีดสาร สเตียรอยด์ เข้าไปให้ด้วย แต่ถ้ายังกลับเป็นซ้ำอีก ซึ่งมีโอกาศเกิดซ้ำได้ 35-70% ถ้าก้อนมีขนาดเล็ก ๆ ก็อาจรักษาได้โดยการกดให้ก้อนแตกออก หากรักษาด้วยวิธีนี้ไม่ได้ผล ก็จะใช้วิธีผ่าตัดแบบถอนรากถอนโคน ซึ่งก็มักจะได้ผลดี
  4. Surgical removal การผ่าตัด ใช้ยาชาเฉพาะที่ และผ่าตัดเลาะก้อนซีสต์ทิ้งไป กรณีที่ช่องต่อเข้าไปในข้อมือมีขนาดใหญ่ จะต้องตัดเยื่อหุ้มข้อบางส่วนออกไปด้วยแล้วเย็บซ่อมช่องที่เชื่อมต่อเข้าไปในข้อ เพื่อป้องกันการเป็นซ้ำ
Indication สำหรับการผ่าตัด
  • ก้อนมีอาการปวด
  • รบกวนต่อการทำงานประจำวัน
  • เมื่อมีอาการชา หรือ รู้สึกเสียวชาไปตามเส้น ของมือหรือนิ้วมือ
การผ่าตัดจะมีโอกาสเป็นซ้ำประมาณ 5 - 15 %

After Surgery/Recovery

พักการใช้งานใส่เฝือก 10-14 วัน

Reference

http://surgerynote.wikispaces.com/Ganglion+cyst

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------